วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของปลากัด

ประวัติความเป็นมาของปลากัด
           
ปลากัด มี  ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Betta  splendens  และ มีชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fishเป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงกันมาเป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากปลากัดไทยนั้นเป็นสัตว์ที่หาได้ง่ายตามลำน้ำลำคลองทั่วไป อีกทั้งมีสีสันลวดลาย ที่งดงาม ต่อมาได้มีการผสมข้ามพันธุ์กับต่างสายพันธุ์ จึงมี สายพันธุ์ต่างๆเพิ่มขึ้นมากมาย จนในปัจจุบันมีสายพันธุ์ต่างๆซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพันธุ์ แล้วแต่ว่าเราจะเลือกเลี้ยงแบบไหน ทั้งนี้การเลี้ยงปลากัด จะมีวัตถุประสงค์หลัก ประการ คือ หนึ่งเพื่อไว้ดูเล่น  และเพื่อกีฬากัดปลา  ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย มีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย ต้องการความดูแลเอาใจใส่ไม่มากนักจึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่หัดเริ่มเลี้ยงปลา ทั้งในการเลี้ยงไม่จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมากเนื่องจากปลากัดมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า labyrinth  ซึ่งอวัยวะ นี้จะทำหน้าที่ ดึงออกซิเจนจากในน้ำ มาเปลี่ยนเป็นอากาศที่สมให้ปลาหายใจได้สอดคล้องกับสภาพในธรรมชาติ ที่มักจะพบปลากัดไทย ได้ทั่วในน้ำที่นิ่ง หรือน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ นอกจากนั้นเรายังพบปลากัดไทยในนาข้าว กระจาย
   ทั่วไปในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปลากัดเลี้ยงมีอายุเฉลี่ยเต็มที่   2 ปี หรือน้อยกว่าแล้วแต่การดูแลรักษาสุขภาพปลาของผู้เลี้ยง อย่างไรก็ดี ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมธรรมชาตินั้นมักจะมีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว  มีลายตามตัว รวมถึงครีบ   และหางสั้น
    ส่วนปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าเพศเมียเล็กน้อย แต่จากการ เพาะพันธุ์ และการคัดเลือกพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ปัจจุบันปลากัดที่มีอยู่ตามท้องตลาดนั้น จะมีสีสันสวยงามหลากสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าดั้งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้เองทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด  เช่น ปลากัดหม้อ,ปลากัดทุ่งปลากัดจีน,ปลากัดเขมร เป็นต้น
     ในปัจจุบัน การพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดกำลังเป็นที่ยอมรับ และรับความนิยมจากนักเลี้ยงปลากัดเพื่อความสวยงาม แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ปัจจุบันนี้ ปลากัดมีสีสันสวยงามมากตั้งแต่ สีเหลืองทั้งตัว สีฟ้า Half moon โดยมีเรื่องอ้างอิงกันมาถึงการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัด โดยใช้สภาพแวดล้อมเป็นตัวเหนี่ยวนำ ด้วยมีความเชื่อว่า ปลาที่มีสีสันสวยงามต่าง ๆ นั้น ส่วนหนึ่งมาจากการถ่ายทอดความรู้สึกของเพศเมีย ไปยังลูกปลา จนได้มีการนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้ในบรรดานักเพาะปลาทั้งหลาย โดยการวาดรูปปลากัดที่มีสีสันตามที่ต้องการ เช่น สีเหลืองทั้งตัว ตั้งวางโดยรอบปลาเพศเมียในระหว่างที่ทำการเทียบคู่นั้น วิธีการนี้เรียกว่า Pseudo-breeding technique ถึงแม้ว่าจะไม่มีการพิสูจน์ออกมาทางวิชาการแต่ก็ได้รับการยืนยันจากนักเพาะเลี้ยงทั้งหลายว่า พบว่าคอกหนึ่ง ๆ ที่ได้ลูกปลาออกมานั้นจะมี 1 - 2 ตัวที่มีลักษณะเหมือนกับภาพที่วาดไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และแปลกประหลาดมากทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น